fbpx

การเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียม บทที่4

การตรวจและการแก้ไขรอยเชื่อม

1. รูปทรงผิวของรอยเชื่อมสําเร็จ
1.1 ผิวรอยเชื่อมสําเร็จควรจะค่อนข้างเรียบและมีความสม่ำเสมอ บริเวณขอบที่รอยเชื่อมมาต่อกับผิวชิ้นงาน ควรเป็นมุมป่านไม่ย้อยเป็นมุมแหลม ถ้าไม่เป็นตามที่กล่าวแล้วก็ต้องเจียระไนแต่งผิวรอยเชื่อมอีกครั้ง
1.2 ผิวของรอยเชื่อมฟิลเลทควรจะราบหรือเว้าไม่นูน
1.3 ความนูนเสริม (Reinforcement) ของรอยเชื่อมต่อชน ควรเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้

tig

2. รอยบกพร่องที่เกิดขึ้นและการแก้ไข

2.1 ถ้าเกิดรอยแตกหรือรอยบกพร่องที่ร้ายแรงอื่น ๆ ในรอยเชื่อม จะต้องเซาะรอยแตกหรือรอยบกพร่องนั้นเอาออกจากรอยเชื่อมให้หมดก่อนการเชื่อมทับลงไปใหม่

2.2 ถ้าเกิดรอยแตกในบริเวณที่ได้รับผลความร้อนของชิ้นงาน หรือรอยแตกขยายตัวจากรอยเชื่อมเข้าไปในชิ้นงาน จะต้องหาวิธีหยุดการขยายตัวของรอยแตก โดยเจาะรูดักข้างหน้า และเตรียมร่องรอยต่อบริเวณรอยแตกก่อนเชื่อมทับลงไปให้เนื้อเหมือนกับแผ่นงานเดิม

2.3 บริเวณเริ่มและหยุดเชื่อม ควรจะเจียรนัยเรียบ และรอยเชื่อมอลูมิเนียม ไม่ควรใช้ค้อนเคาะทําความสะอาด (เพราะจะไปกลบข้อบกพร่องที่อาจเห็นได้บนผิว)
3. การแก้ไขการบิดงอตัว

3.1 การบิดงอตัวที่เกิดขึ้น ควรแก้ไขด้วยวิธีทางกล (คือการตีเข้ารูป) การใช้ความร้อนเผาเป็นจุด
หรือเป็นเส้น ให้ทําเท่าที่จําเป็นเท่านั้น

3.2 การแก้ไขการบิดงอตัวด้วยวิธีทางกล ต้องระวังไม่ให้เกิดตําหนิขึ้นบนผิวชิ้นงาน

3.3 การแก้ไขการบิดงอตัวด้วยวิธีการใช้ความร้อน ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิเกิน 250๐C

สนใจติดต่อสอบถามราคาเครื่องเชื่อม เครื่องเชื่อมซีโอทู เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า โทร 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

 

กลับไปหน้าร้านของเรา

ตู้เชื่อมไฟฟ้า

เอกสารอ้างอิง

4.1 JIS Handbook 1981, Welding, JIS 3604 Recommended Practice for Inert Gas Shielded Arc Welding (Aluminium and Aluminium Alloy)

4.2 วิศวกรรมการเชื่อม โดย เชิดเชลง ชิตชวนกิจ และคณะ จัดพิมพ์โดย สมาคมส่งเสริมความรู้ด้านเทคนิคระหว่างประเทศ

4.3 มาตรฐานพัสดุการช่าง กรมอู่ทหารเรือ มพช.อร.9535 – 01 – 29 , แผ่นอลูมิเนียมเจือสําหรับต่อเรือ

4.4 มาตรฐานพัสดุการช่าง กรมอู่ทหารเรือ มพช.อร.9525 – 01 – 30 , ลวดเชื่อมอลูมิเนียมและอลูมิเนียมผสมชนิดเปลือย

การเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียม บทที่3

การดําเนินการเชื่อม

1. การเลือกสภาวะในการเชื่อมให้เหมาะสมกับขนาด, แบบของรอยต่อเชื่อมและตําแหน่งเชื่อม  1.1 ช่วงกระแสไฟฟ้าที่ควรใช้สําหรับลวดเชื่อมขนาดต่าง ๆ ในการเชื่อม  TIG  และ  MIG  ตามตารางข้างล่างนี้ (เพิ่มเติม…)

การเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียม บทที่2

การเตรียมการก่อนเชื่อม

1. การเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชนิดของอลูมิเนียม

1.1 ลวดเชื่อมอลูมิเนียมเปลือยสําหรับการเชื่อมมิก

อลูมิเนียมขึ้นรูป (Wrought Aluminium) มีอยู่หลายชนิดแตกต่างกัน โดยส่วนผสมทางเคมีและกรรมวิธีการผลิต แต่อลูมิเนียม

รูปพรรณที่ใช้ในการทําตัวเรือต้องเป็นชนิด 5083 – H112 หมายความว่า เป็นอลูมิเนียมรูปพรรณที่มีส่วนผสมของธาตุแมกนีเซียม มี

ความแข็งแรงและทนการผุกร่อนจากน้ำทะเล อักษรท้าย H112 หมายความว่า (เพิ่มเติม…)

การเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียม บทที่1

การเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียม
1. ความมุ่งหมาย
เพื่อเป็นแนวทางแก่ช่างเชื่อมในการปฏิบัติงานเชื่อมประสานตัวเรืออลูมิเนียมให้สามารถเลือกใช้สภาวะและเทคนิคในการเชื่อมที่เหมาะสม  ตลอดไปจนถึงการตรวจและแก้ไขผลงานเชื่อมของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีตามมาตรฐาน (เพิ่มเติม…)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า