ชนิดของ ตู้เชื่อม
เนื้อหายาวไป เลือกอ่านทีละห้วข้อ
ครั้งนี้เราจะมาคุยถึงเรื่องประเภทของตู้เชื่อม ที่เราเห็นและใช้งานกันบ่อยๆละกันครับ จริงๆมีมากกว่านี้นะครับ แต่เราจะมาคุยกันถึง ตู้เชื่อม 3ชนิดนี้ TIG , MIG , MMA และแถมด้วย เครื่องตัดพลาสม่า
1.ตู้เชื่อมอาร์กอน TIG
2.ตู้เชื่อมไฟฟ้า ARC
3.ตู้เชื่อมco2 MAX MIG
4.เครื่องตัดพลาสม่า PLASMA CUTTER
เพราะมีหลายคนที่ไม่เข้าใจ และสอบถามเข้ามามากว่าเป็นอย่างไร จะอธิบายให้ฟังคร่าวๆนะครับ คนที่รู้แล้วก็อย่าว่ากันนะครับ
1.ตู้เชื่อม อาร์กอน
ตู้เชื่อมTIG หรือที่เราเรียกว่า ตู้เชื่อมอาร์กอนนั่นเอง ใช้ร่วมกับถังก๊าซอาร์กอน ตู้เชื่อม TIG ก็มีทั้งเชื่อมอาร์กอนอย่างเดียว (ตู้เชื่อมระบบเดียว) และแบบที่เชื่อมได้ 2 อย่าง ( ตู้เชื่อม 2ระบบ) ก็คือ เชื่อมได้ทั้งอาร์กอน และ เชื่อมไฟฟ้า หรือที่ทั่วไปเรียกว่าเชื่อมธูป และ 3.เครื่องเชื่อมอาร์กอน ที่มีระบบ AC/DC คือ เชื่อมอาร์กอน (เหล็ก,สแตนเลส) เชื่อมธูปไฟฟ้า และสามารถ เชื่อมอาร์กอนอลูมิเนียมได้ด้วย (คือระบบAC) ที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า เครื่องเชื่อมระบบ AC/DC นั่นเอง ช่างโดยทั่วไปเข้าใจผิดว่า 2ระบบเสียง่าย หรือ 3ระบบเสียง่าย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เครื่องเชื่อมที่มี2ระบบ ก็จะมีสวิตช์ เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC หรือ MMA ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว + สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว – แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องสลับเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ – และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก + แทน ซึ่งก็จะได้ประสิทธิภาพการเชื่อมที่ถูกต้อง
ส่วน ตู้เชื่อมอาร์กอน ระบบ AC/DC เป็นตู้เชื่อมที่สามารถเชื่อมอลูมิเนียมได้ด้วย โดยใช้ระบบAC ในการเชื่อมอลูมิเนียม บางรุ่นจะมีระบบพัลล์ด้วย (เป็นระบบช่วยสร้างเกล็ดอัตโนมัติ และ ช่วยในการเชื่อมชิ้นงานบาง ช่วยให้ความร้อนไม่สะสมในชิ้นงาน ซึ่งตู้เชื่อมอาร์กอน DC บางรุ่นก็มีระบบพัลล์ด้วยเหมือนกันครับ)
2.ตู้เชื่อมไฟฟ้า
ตู้เชื่อม ARC หรือ MMA ก็คือ ตู้เชื่อมไฟฟ้า หรือเชื่อมเหล็ก ตู้เชื่อมไฟฟ้า เชื่อมลวดธูป เราควรเลือกกำลังแอมป์ให้เหมาะกับงานของเรา เช่นถ้าเราใช้ลวดเชื่อมขนาด 2.6-3.2มิล เราก็ควรเลือกใช้ 200แอมป์ขึ้นไป (ในที่นี้ขอแนะนำเป็น 200แอมป์ขึ้นไปนะครับ เพราะ140แอมป์ หรือ 160แอมป์ ราคาก็ไม่หนีกันมาก 200แอมป์จะดีกว่า ใช้กันไปยาวๆ) ถ้าใช้ลวดเชื่อม 4-5มิล ก็จะแนะนำให้ใช้รุ่น 300แอมป์ขึ้นไปครับ
3.ตู้เชื่อม co2
ตู้เชื่อมco2 เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้วิธีการป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องเลย สังเกตุว่าจะมีอยู่ 2แบบ 1.แบบฟีดใน (มีโรลลวดอยู่ข้างในเครื่อง) และ 2.แบบฟีดนอก(มีโรลลวดอยู่ข้างนอกเครื่อง) ไม่ต้องมาเคาะขี้สแล็ค สะดวก รวดเร็วกว่า ตู้เชื่อมธูปมาก เครื่อง MIG จะใช้ก๊าซ Co2 (เชื่อมเหล็ก) และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอะลูมิเนียม **ขึ้นอยู่ที่รุ่นของเครื่องด้วยนะครับ ปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้รู้ก่อนนะครับ** แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน เขื่อมสแตนเลสก็ต้องเปลี่ยนลวดเป็นสแตนเลส เปลี่ยนก๊าซเป็น ก๊าซอาร์กอน ส่วนจะเชื่อมอะลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เป็นแบบเทปลอน เปลี่ยนลวดอะลูมิเนียม เปลี่ยนโรเลอร์เป็นขนาดลวดที่ใช้ และต้องเป็นร่อง “ยู” ใช้ก๊าซอาร์กอน แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูตู้เชื่อมซีโอทูด้วยว่ารุ่นนั้นสามารถใช้เชื่อมสแตนเลส อะลูมิเนียมได้มั๊ย ซึ่งควรจะต้องปรึกษาช่างหรือผู้รู้ก่อนนะครับ
4.เครื่องตัดพลาสม่า
CUT คือ เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) ก็จะมีหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่น คัท40 220V. , คัท60 220V. , คัท80 380V. , คัท100 380V. , คัท160 380V. ใช้กับปั๊มลม *แนะนำถ้าเป็นลูกสูบควรจะ1แรงขึ้นไป ถ้าโรตารี่ควรจะเป็น 3แรงขึ้นไป ส่วนถังลม 50-100ลิตรไปเลยครับ ยิ่งใหญ่ยิ่งดี ลมจะได้ไม่ตัดบ่อยๆ เลือกให้เหมาะกับความหนาและโลหะที่เราต้องการตัด บางรุ่นจะมีระบบไพลอท ซึ่งจะสะดวกกับการใช้งาน หัวตัดไม่ต้องอาร์คกับชิ้นงาน(ไม่ต้องแตะชิ้นงาน) ทำให้สามารถตัดได้เลย ไม่ต้องลอกสีหรือทำความสะอาดชิ้นงานก่อน การสึกหรอของหัวตัดก็จะน้อยลงไปด้วย การตัดพลาสม่า ควรตัดจากข้างนอกเข้ามา ไม่ควรเจาะตรงกลางแผ่น (หรือควรเอาสว่านเจาะนำก่อน)
หัวตัด CUT 40 ใช้ PT 31,PCH 35 (SG51,SG53,SG55)
CUT 60 ใช้ SG51,SG53,SG55(P80)หรือแล้วแต่คนขาย
CUT 80 ใช้ P80 หรือแล้วแต่คนขาย
CUT 100 ใช้ P80 หรือแล้วแต่คนขาย
CUT 160 ใช้ A141 หรือแล้วแต่คนขาย
เรื่องสแปรพาสสำคัฐเช่นกัน เราควรเลือกสแปรพาสที่มีคุณภาพด้วย เพราะถ้าใช้สแปรพาสคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้ประสิทธิในการใช้งานไม่ดีไปด้วย สแปรพาสเกรดดีหรือไม่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญนะครับ ฝากเอาไว้ด้วย ขอบคุณครับ
28/9/63
สนใจ ตู้เชื่อมไฟฟ้า ตู้เชื่อมอาร์กอน เครื่องเชื่อมCo2 ตู้ตัดพลาสม่า
สอบถามราคาพิเศษ ขอใบเสนอราคา
อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา โทร083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20 คุณรอง