ตู้เชื่อมอาร์กอน ยี่ห้อไหน อย่างไร แบบไหนดี 2025 เรามาดูกัน

ตู้เชื่อมอาร์กอน
การเชื่อมอาร์กอน

ตู้เชื่อมอาร์กอน (TIG)

ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อมทิก การเชื่อมของTIG(ทิก) จะเป็นการเชื่อมแบบหลอมละลายชิ้นงานให้เข้าหากันโดยมีลวดป้อนหรือลวดเติมให้เต็มแล้วเจียรออกก็จะดูเป็นเนื้อเดียวกันเช่น ราวบันไดสแตนเลส รั้วบ้านสแตนเลส เฟอร์นิเจอร์สแตนเลสต่างๆ หรือจะไม่เจียร โชว์แนวเชื่อมโชว์เกล็ดได้เช่นกัน เช่นท่อรถจักรยานยนต์ ท่อไอเสียรถยนต์ ท่ออินเตอร์เทอร์โบ เป็นต้น จึงเป็นที่นิยมกันมากในการเชื่อมสแตนเลส เหล็ก และอลูมิเนียม สมัยนี้จะเป็นตู้เชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์กันมากขึ้น ด้วยความที่สะดวกสบาย เบากว่า เล็กกว่า ประหยัดไฟมากกว่า ในราคาที่ถูกกว่าแต่ประสิทธิภาพดี จึงเป็นที่นิยมกัน ก่อนที่จะซื้อเราควรจะต้องพิจารณางานของเราก่อนว่าจะต้องใช้ตู้เชื่อมอาร์กอนแบบไหนดี

1.ตู้เชื่อมอาร์กอน แบบDC

ซึ่งส่วนมากตู้เชื่อมชนิดนี้จะเป็นตู้เชื่อมอาร์กอน 2ระบบกันหมดแล้ว (จะมีก็TIG 200S ที่เป็นทิกระบบเดียว) คือเชื่อมได้ทั้งระบบTIG (อาร์กอน)และระบบไฟฟ้า เชื่อมธูป(MMA,ARC) ซึ่งก็ไม่ได้เป็นผลเสียอะไรเลย แต่จะมีบางคนเข้าใจผิดว่าจะต้องเป็นระบบเดียวดีกว่า ซึ่งตู้เชื่อมอาร์กอนแบบไฟDC นี้ก็จะเชื่อมได้เช่น สแตนเลส เหล็ก ไททาเนียม ทองเหลือง ทองแดง **แต่จะเชื่อมอลูมิเนียมไม่ได้นะครับ ต้องเป็นแบบใช้ไฟACได้ด้วย.

ตู้เชื่อมอาร์กอน
รุ่น:TIG 300A 220V.

2.ตู้เชื่อมอาร์กอน แบบ AC/DC

ตู้เชื่อมอาร์กอนแบบนี้ละครับที่ใช้สำหรับเชื่อมอะลูมิเนียม ซึ่งจะเห็นได้ทั่วไปสำหรับร้านซ่อมหม้อน้ำ ร้านทำท่ออินเตอร์ เทอร์โบ ร้านซ่อมล้อแม็ก ร้านแต่งรถจะนิยมกันมากและงานเชื่อมอลูมิเนียมทั่วไป และก็สามารถเชื่อมโลหะอื่นเหมือนกับระบบDCได้ เช่น สแตนเลส ทองเหลือง ทองแดง ไททาเนียม ได้เช่นกัน โดยปรับปุ่มไปที่DC บางรุ่นจะมีระบบPLUSE(พัลส์) เพิ่มเข้ามาด้วย เพื่อช่วยให้สะดวดในการเชื่อม เช่น การสร้างเกล็ดอัตโนมัติ ช่วยลดความร้อนบนชิ้นงาน
*ข้อแนะนำ การเชื่อมอะลูมิเนียม AC จะใช้ความร้อนสูงกว่าการเชื่อมDC ถ้าเป็นการเชื่อมเวลานานๆ หรือเป็นงานหนัก ก็ควรเปลี่ยนเป็นสายระบายความร้อนด้วยน้ำเช่น สายWP18 *แต่คุณก็ต้องมีปั๊มน้ำด้วยนะครับ สำหรับดึงน้ำให้เข้าไปวิ่งวนในสาย จะช่วยให้สายและหัวทอร์คระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น แต่ถ้างานไม่หนักมากก็ใช้สายWP26ที่มากับเครื่องก็ได้ครับ

ตู้เชื่อมอลูมิเนียม
rilon-tig 250pacdc
ตู้เชื่อมอาร์กอนยี่ห้อไหนดี?

ถ้าให้แนะนำตู้เชื่อมอาร์กอนในระดับเดียวกัน ราคาไม่สูงเกินไป คุณภาพดี ก็คงให้มองไปที่แบรนด์ที่เชื่อถือได้ มีช่างนิยมใช้กันเยอะ มีอะไหล่ มีศูนย์บริการรองรับ เช่น RILON (ไรล่อน) , UNIMI(ยูนิมิ) , HITRONIC(ไฮโทนิค) , JASIC(เจสิค) , WELDPRO(เวลโปร) , FALCON(ฟอคอล) เป็นต้น

ตู้เชื่อมอาร์กอน ไม่ใช้แก๊ส ได้ไหม?

สรุปว่าการเชื่อมทิกต้องใช้ร่วมกับก๊าซอาร์กอนนะครับ ไม่ใช้ก๊าซไม่ได้ครับ นอกจากคุณจะสลับไปเชื่อมธูป MMA *การเชื่อมทิกสายเชื่อมต้องต่อหน้าตู้ที่ขั้วลบ สายดินอยู่ขั้วบวกนะครับ ถ้าสลับไปเชื่อมธูปค่อยสลับกันครับ เอาสายดินมาต่อที่ขั้วลบ แล้วเอาสายเชือมที่คีบลวดธูปมาต่อเข้าที่ขั้วบวก

ตู้เชื่อมอาร์กอน เชื่อมอลูมิเนียมได้ไหม?

ได้ครับ แต่ต้องเป็นเครื่องเชื่อมอาร์กอนที่มีระบบไฟAC นะครับ DCทั่วไปไว้เชื่อมสแตนเลส เหล็ก ไททาเนียม ทองเหลือง ทองแดงครับ

ก๊าซอาร์กอน คือ?

ก๊าซอาร์กอนเป็นก๊าซเฉื่อยใช้ปกคลุมแนวเชื่อมทิก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีพิษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นอันตรายอะไรเลยนะครับ ยังไงทำงานก็ไห้อากาศถ่ายเทหน่อยก็จะดีครับ ก๊าซอาร์กอนไม่ไวไฟ ไม่ติดไฟ

ท่ออาร์กอน
ท่ออาร์กอน

วิธีการประกอบหัวเชื่อมอาร์กอน

หัวเชื่อมอาร์กอนเป็นอุปกรณ์สำคัญของการเชื่อมแบบทิก ผู้ปฎิบัติงานควรศึกษาและทำความรู้จักกับส่วนประกอบของสายเชื่อมทิกด้วย เพราะภายในสายเชื่อมTIGนี้มีส่วนประกอบของอะไหล่สิ้นเปลืองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน

*จากรูปประกอบด้านล่างจะเห็นการเรียงลำดับการประกอบหัวเชื่อมอาร์กอน จะแนะนำเพิ่มเติม สำหรับ คอเลท (collet), คอเลทบอดี้(collet body) ,และเข็มทังสเตน จะต้องเป็นเบอร์(ขนาด)เดียวกันทั้งชุด เช่น 1.6 ก็ต้อง1.6ทั้ง 3ตัว หรือจะ2.4,3.2ก็ต้องเบอร์เดียวกันทั้งหมด จะสลับปนกันไม่ได้นะครับ

หัวเชื่อมอาร์กอน
  1. Torch Body หัวเชื่อมอาร์กอน
  2. Valve วาล์ว สำหรับใช้ปรับแก๊ส (โดยทั่วไปหัวเชื่อมอาร์กอนอาจจะไม่มีวาล์วตัวนี้นะครับ ให้ไปปรับที่เกจ์อาร์กอนบนหัวถังอาร์กอนนะครับ)
  3. Back Cap ฝาครอบหรือท้ายหางปลา ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แก๊สออก และป้องกันไม่ให้อากาศซึมผ่านเข้ามาปะปนกับแก๊ส
  4. Cup Gasket
  5. Collet คอเลท เป็นตัวยึดจับลวดเชื่อมทังสเตน มิหลายขนาดโดยกำหนดจากขนาดของลวดเชื่อมทังสเตน
  6. Collet Body คอเลทบอดี้ เป็นตัวบีบ จับลวดเชื่อมทังสเตนให้แน่น และปล่อยแก๊สปกคลุมให้ไหลออกมา
  7. Nozzle น๊อตเซิล หรือจะเรียกเซรมิกหรือนมหนู ก็แล้วแต่ เป็นตัวควบคุมทิศทางการไหลของแก๊ส
ทังสเตน

ลวดเชื่อมทังสเตน

เราต้องเลือกใช้ให้ตรงกับโลหะที่เราจะเชื่อมเพื่อให้การหลอมละลายแนวเชื่อมสมบูรณ์ ทำให้งานเชื่อมออกมาดี

ทังสเตน หัวแดง (WT-20)

เหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็กและเชื่อมสแตนเลส ให้การอาร์คได้ดี นำกระแสไฟได้ดี คงที่ ให้แนวเชื่อมซึมลึก มีขนาด 1.6, 2.4 และ 3.2 มม ควรลับด้านปลายเส้นให้แหลม เพื่อที่กระแสไฟวิ่งได้ดี

ทังสเตน หัวเขียว (WP)

เหมาะสำหรับงานเชื่อมอลูมิเนียม ประกอบด้วยทังสเตนเกือบ 100% ใช้ได้ดีกับไฟกระแสสลับ มีขนาด 1.6, 2.4 และ 3.2 มม. ไม่ควรลับปลายให้แหลม สำหรับการเชื่อมอลูมิเนียม

ทังสเตน หัวทอง (WL15)

คุณสมบัติพิเศษของทังสเตนหัวทอง คือไม่ก่อมลพิษ และยังสามารถใช้เชื่อมครอบคลุมโลหะได้หลายชนิด เช่น สแตนเลส อลูมิเนียม เหล็ก ไททาเนียม เป็นต้น มีขนาด 1.6, 2.4 และ 3.2 มม

ทังสเตน หัวเทา (WC20)

เหมาะกับการเชื่อมกระแสDC ที่กระแสต่ำๆ สามารถเชื่อมอลูมิเนียมด้วยกระแส AC ได้ด้วย ใช้ได้กับเชื่อมชิ้นงานบาง หรือ การเชื่อมแบบออโต้ มีขนาด 1.6, 2.4 และ 3.2 มม.

สอบถามราคา-ขอใบเสนอราคา
อย่าลังเลที่จะโทรหาเรา: 083-023-4002
(มือถือกดที่เบอร์โทรออกได้เลยครับ)
หรือไลน์ไอดี:AB20
กลับไปสู่หน้าร้านของเรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า