การเชื่อมแบบ TIG ( Tungsten Inert Gas ) ต่อ3

8.อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องเชื่อม

ในที่นี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์ควบคุมการทำงานโดยทั่วไปที่มีอยู่ในของเครื่องเชื่อม   TIG  แต่ในปัจจุบันเครื่องเชื่อม TIG ได้พัฒนาให้มีอุปกรณ์เสริม (Function) เพิ่มมากขึ้นในเครื่องเชื่อม TIG เพื่อช่วยให้ช่างเชื่อมสามารถปฏิบัติงานเชื่อมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และ ทำให้คุณภาพของแนวเชื่อมดีขึ้น

อุปกรณ์โดยทั่วไปที่มีได้แก่

1.  Remote  Control     เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องเชื่อม ที่ต่อออกมาควบคุมที่ภายนอกเครื่องเชื่อม ในระยะไกลซึ่งสามารถควบคุมได้ทั้งกระแสเชื่อม,การไหลของแก๊สปกคลุม  Remote  Control  มีทั้งชนิดควบคุมการทำงานด้วยมือ(Hand Remote) และชนิดควบคุมการทำงานด้วยเท้า (Foot Remote)

2.  High  Frequency  Switch   เป็นสวิทช์ของความถี่สูง ส่วนมากจะมีสวิทช์ปรับขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องเชื่อม ตำแหน่งที่ควบคุมบางเครื่องอาจเรียกไม่เหมือนกันหรือตำแหน่งอาจไม่เหมือนกัน โดยให้พิจารณาจากเครื่องเชื่อมที่ใช้อยู่เป็นหลัก บางเครื่องก็ไม่มีอุปกรณ์ชนิดนี้
โดยทั่วไปมี 3 ตำแหน่ง คือ

“ Start ”/ “On”     จะทำให้ความถี่สูงเกิดขึ้นในขณะเริ่มต้นอาร์คในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  และจะถูกตัดออกโดยมีวงจรอัตโนมัติควบคุมอยู่ภายในเครื่อง  ซึ่งความถี่ที่ใช้ในตอนเริ่มต้นอาร์ค  จะใช้กับการเชื่อมด้วยไฟเชื่อมกระแสตรง  เช่น  การเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม หรือ สแตนเลส    ในการเชื่อมปลายแท่งทังสเตนอีเลคโทรดจะไม่สัมผัสกับชิ้นงาน  ซึ่งเป็นการช่วยไม่ให้ปลายแท่งทังสเตนอีเลคโทรดสกปรก

ทิก
ทิก

การเริ่มต้นอาร์ค โดยการใช้ High  Frequency  Switch ตำแหน่ง Start / On จากภาพจะเห็น จากจุดเริ่มต้นแค่เองหัวเชื่อมทำมุมประมาณ 15 องศากับชิ้นงาน เมื่อเปิดสวิทช์ทำให้เกิดความถี่สูง จะช่วยให้เกิดการจุดอาร์ค โดยที่แท่งทังสเตนอีเลคโทรดไม่ต้องสัมผัสชิ้นงาน

“ Off ”  ใช้กับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์  โดยที่ปลายลวดเชื่อมจะสัมผัสกับชิ้นงานเมื่อเริ่มต้นอาร์ค

ทิก
ทิก

ลักษณะการจุดอาร์ค แบบ Lift Arc โดยแท่งทังสเตนอีเลคโทรดสัมผัสกับชิ้นงานเมื่อเริ่มอาร์ค

การเริ่มต้นอาร์ค โดยการใช้ High  Frequency  Switch ตำแหน่ง Off โดยส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่ใช้การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แต่ถ้าเป็นการเชื่อมแบบ TIG แล้วจะมีปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ทำงานนั้น มีอุปกรณ์ ด้านอิเลคทรอนิกส์ ด้านการสื่อสาร หรือ เป็นสถานที่ที่ใช้คลื่น ใช้ความถี่ เพื่อส่งสัญญาณ ฉะนั้นในการปฏิบัติงานเชื่อม TIG โดยใช้ระบบความถี่สูง (High Frequency) จะทำให้รบกวนอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์การส่งสัญญาณดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้   หรือแม้กระทั้งโทรศัพท์มือถือ เมื่อจำเป็นต้องเข้าใกล้เครื่องเชื่อม  TIG ที่กำลังปฏิบัติงาน ก็ควรปิดโทรศัพท์มือถือเสียก่อน เพื่อมิให้คลื่นความถี่ไปรบกวนวงจรอิเลคทรอนิกส์ภายในโทรศัพท์มือถือได้  หรือจะสังเกตได้ง่ายๆ  เมื่อทำการเชื่อม TIG แบบใช้คลื่นความถี่สูง ที่บริเวณทำการเชื่อม มีโทรทัศน์เปิดอยู่  จะสังเกตได้ว่าภาพที่ปรากฏจะไม่ค่อยชัดเหมือนตอนที่ยังไม่เปิดเครื่องเชื่อม TIG ทำงาน ฉะนั้นการเริ่มต้นอาร์คโดยไม่ใช้คลื่นความถี่สูงจำเป็นต้อง พิจารณาจากสถานที่ที่ปฏิบัติงาน  และการเริ่มต้นอาร์คโดยไม่ใช้คลื่นความถี่สูงนั้น แท่งทังสเตนอีเลคโทรดจำเป็นต้องสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรงเมื่อทำการเริ่มต้นอาร์ค ดังภาพ

“ Continuous ”  ใช้กับการเชื่อมโลหะที่มีอ๊อกไซด์ที่ผิวสูง   เช่น อลูมิเนียมและแมกนีเซียม ซึ่งในตำแหน่งนี้จะให้ความถี่สูงทำงานอย่างต่อเนื่องทั้งในขณะเชื่อมและขณะเริ่มต้นอาร์ค เพื่อช่วยขจัดอ๊อกไซด์บนผิวของชิ้นงานทำให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมเพิ่มขึ้น

3.  Power  Switch    เป็นสวิทช์ที่ใช้เปิด –  ปิดเครื่องเชื่อม
4.  Range  Switch  เป็นสวิทช์ที่ควบคุมกระแสไฟเชื่อม ใช้ปรับกระแสไฟเชื่อม
5.  AC / DC   Selector  and  Polarity  Switch  เป็นสวิทช์สำหรับเลือกใช้กระแสไฟเชื่อมซึ่งมีอยู่  3  ตำแหน่ง  คือ   AC /  DCEN and  DCEP กรณีที่เครื่อง เชื่อมเป็นแบบ Transformer-Rectifier Type
6.  Pre-Flow gas   เป็นชุดปรับเวลาควบคุมแก๊สปกคลุม ให้แก๊สปกคลุมออกมาก่อนการเชื่อม เพื่อป้องกันจุดบกพร่องในแนวเชื่อม
7.  Post – Flow  gas  เป็นชุดปรับเวลาควบคุมแก๊สปกคลุม ให้แก๊สปกคลุมไหลออกมาต่อเนื่องหลังจากการเชื่อมเสร็จ เพื่อป้องกันจุดบกพร่องในแนวเชื่อม

9. ระบบการหล่อเย็น

  • ระบบการหล่อเย็นด้วยน้ า กรณีที่ทำการเชื่อมด้วยกระแสไฟที่สูงเกิน 160 แอมป์แปร์
  • ระบบการหล่อเย็นด้วยอากาศ กรณีที่ทำการเชื่อมด้วยกระแสไฟที่สูงไม่เกิน 150 แอมป์แปร์

10.  แก๊สปกคลุม

ทำหน้าที่ปกคลุมแนวเชื่อมและบ่อหลอมละลายเพื่อไม่ให้อากาศโดยรอบเข้าไปทำปฏิกิริยาในขณะเชื่อม – แก๊สอาร์กอน (Argon)

เป็นแก๊สเฉื่อยที่ได้จากกรรมวิธีผลิตออกซิเจน   ซึ่งจะมีอยู่ในอากาศประมาณ   0.9 %  แก๊สอาร์กอน  จะทำให้การเริ่มต้นเชื่อมง่ายให้อาร์คที่เปลวเรียบและสม่ำเสมอ แก๊สอาร์กอนมีความหนาแน่นมากกว่าบรรยากาศ   และถังสำหรับเก็บอาร์กอนเหลว  จะต้องมีฉนวนที่ดีสามารถเก็บแก๊สอาร์กอนที่อุณหภูมิต่ำกว่า  -184  องศาเซลเซียล  การใช้งานกับโลหะทุกชนิด  มีความบริสุทธิ์ 99.95 % ดีกว่า แก๊สฮีเลียม (He) คือ อาร์คเรียบและนิ่งกว่า  ซึมลึกน้อยกว่า  Cleaning Effect ดีกว่า  อัตราการไหลน้อยกว่า และ เริ่มต้นอาร์คดีกว่า และราคาถูกกว่า

–  แก๊สฮีเลียม  (Helium)
เป็นแก๊สเฉื่อยที่ได้จากกรรมวิธีผลิตแก๊สธรรมชาติ  Ionization  Potential   มีคุณสมบัติเป็น  ตัวนำไฟฟ้าดีเลิศ ทำให้เปลวอาร์คแผ่ขยายกว้างความเข้มของความร้อนสูงกว่า  แก๊สอาร์กอน (Ar) ทำให้แนวเชื่อมซึมลึกได้ดี  การใช้แก๊สฮีเลียมเหมาะกับการเชื่อมด้วยวิธีอัตโนมัติ  ที่ให้ความเร็วในการเชื่อมสูง ไม่เกิดรูพรุนและการกัดแหว่งแนวเชื่อมรวมทั้งแนวเชื่อมมีบริเวณ เขตอิทธิพลของความร้อนจาก
การเชื่อมแคบ การใช้งานกับโลหะทุกชนิด ความบริสุทธิ์ 99.99 %  ราคาค่อนข้างแพง

– แก๊สอาร์กอน (Ar) ผสม 15-75 % ฮีเลียม (He)
เหมาะกับการเชื่อมทิกอัตโนมัติ  ฮีเลียม (He) ช่วยลดรูพรุน และแตกร้อน  เดินแนวเชื่อมเร็ว ลดการบิดงอ  อาจเปลืองแก๊สมากขึ้น เพราะ ฮีเลียม (He) ลอยสู่ด้านบน  ใช้โวลท์ในการจุดอาร์คสูงกว่า ใช้งานกับโลหะทุกชนิด

– แก๊สอาร์กอน (Ar) ผสม 7 % ไฮโดรเจน(H)
เพิ่มความเร็วในการเดินแนวเชื่อม และลดรูพรุน  ใช้งานกับเหล็กกล้า Cr/Ni และ Ni

ติดตามตอนต่อไปนะครับ…

ต้องการตู้เชื่อม เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า โทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

กลับไปหน้าร้านของเรา

ตู้เชื่อมไฟฟ้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า