20. การเลือกขนาดของ Nozzle เพื่อใช้งาน
การเลือกขนาด Nozzle ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้คุณภาพของแนวเชื่อม มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเชื่อม และยังรวมไปถึงการใช้แก๊สปกคลุมแนวเชื่อม มีความสัมพันธ์กัน การเลือกใช้กระแสไฟเชื่อม ช่างเชื่อมอาจจะพิจารณาดูจากความหนาของชิ้นงาน ลักษณะของท่าเชื่อม ตำแหน่งท่าเชื่อม เพื่อเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาการเลือกขนาดของ Nozzle และการปรับความดันแก๊สใช้งานให้สัมพันธ์กับขนาดของ Nozzle ก็มีความจำเป็นที่ช่างเชื่อมต้องรู้ เพราะบางครั้งจุดบกพร่องที่เกิดจากการเชื่อม มีสาเหตุมาจากการปรับความดันแก๊สใช้งานไม่เหมาะสม บางครั้งเปิดน้อยไป ก็ทำให้อากาศภายนอกสามารถเข้ามารวมต่อกับเนื้อแนวเชื่อมได้ก่อให้เกิดเป็นจุดบกพร่องในแนวเชื่อมได้ หรือ บางครั้งเปิดความดันมากเกินไป จะทำให้แก๊สปกคลุมปะทะชิ้นงานอย่างรุนแรงทำให้แก๊สม้วนตัว ออกจากบริเวณที่ทำการเชื่อม ทำให้อากาศเข้ามารวมตัวกับเนื้อแนวเชื่อมได้เช่นกัน การพิจารณาปรับความดันแก๊สใช้งาน สามารถดูได้จากคู่มือ ของเครื่องเชื่อมหรือ พิจารณาจาก เบอร์ที่ติดอยู่ที่ Nozzle แล้วปรับความดันแก๊สใช้งานตามเบอร์ของ Nozzle เช่น Nozzle เบอร์ 6 ก็ปรับความดันใช้งานที่ 6 ลิตร/นาที เป็นต้น บางครั้งเมื่อปรับความดันใช้งานตามเบอร์ของ Nozzle แล้ว หลังจากการเชื่อมแล้ว แนวเชื่อมดำ ไม่มันวาว ในกรณีเชื่อม สแตนเลส ให้เพิ่มความดันแก๊สใช้งานอีกประมาณ 1 –2 ลิตร/นาที เมื่อเพิ่มแล้วแนวเชื่อมยังดำหรือ ไม่มันวาว ให้พิจารณา มุมของหัวเชื่อม ว่าถูกหรือไม่ มีลมพัดจากการภายนอกหรือไม่ เช่น เปิดพัดลมระบายอากาศ หรือจากเครื่องดูดควัน บางครั้งเบอร์ที่ติดอยู่ Nozzle ไม่มี ก็สามารถปรับความดันใช้งานเบื้องต้นได้ที่ 6 ลิตร/นาที และหลังจากการเชื่อมแล้วให้พิจารณาดูที่เนื้อแนวเชื่อม ว่าดำหรือไม่ เป็นมันวาวหรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ปรับเพิ่มขึ้น ประมาณ 1-2 ลิตร/นาที แล้วเชื่อมดูอีกที ถ้าแนวเชื่อมยังดำอยู่ อีก ก็ปรับความดันแก๊สปกคลุมเพิ่ม ประมาณ 1 ลิตร/นาที หรือ การเลือกใช้ขนาด Nozzle บางครั้งสามารถใช้ค่า 1.5 คูณ ความกว้างของแนวเชื่อม จะได้ค่าประมาณขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Nozzle
ขั้นตอนการเปิดวาล์วเพื่อใช้งาน
1. ให้ปิดวาล์วหมายเลข 3 ก่อนเพื่อป้องกัน ลูกบอลกระแทกขวดปรับความดันใช้งาน
2. เปิดวาล์วถังแก๊สหมายเลข 1
3. เปิดวาล์วถังแก๊สเพื่อปรับความดันภายในถังแก๊ส หมายเลข 2
4. เปิดวาล์วควบคุมอัตราการไหลเพื่อใช้งาน หมายเลข 3
ขั้นตอนการปิดวาล์วหลังจากใช้งาน
1. ให้ปิดวาล์วหมายเลข 1 ก่อนเพื่อป้องกัน
2. กดรีโมทที่ทอร์ชเชื่อมเพื่อให้แก๊สที่ค้างอยู่ในสายเชื่อมออกให้หมด
3. สังเกตเข็มวัดความดันถังให้อยู่ในตำแหน่ง 0
4. ปิดวาล์วควบคุมอัตราการไหลเพื่อใช้งาน หมายเลข 3
22. ลวดเติม (Rod) ในงานเชื่อม TIG
การเชื่อม TIG คล้ายกับการเชื่อมด้วยแก๊ส มีลักษณะการเชื่อมด้วยการ เชื่อมแบบสร้างบ่อหลอมละลายให้ชิ้นงานสองชิ้น หลอมละลายติดกัน หรือ การเชื่อมสร้างบ่อหลอมละลายแล้วเติมลวดเติม (Rod) ลงไปในเนื้อแนวเชื่อม ซึ่งเนื้อเชื่อมที่ได้จะมีคุณสมบัติที่เหมือนกับลวดเติม ลวดเติมสeหรับการเชื่อมTIG มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ แท่งตรง (Rot) ใช้ในเชื่อมทั่วไป และม้วน (Spool Wire) ใช้ในการเชื่อมแบบ
อัตโนมัติ ขนาดความโตและความยาวเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งในที่นี้จะ ขอยกตัวอย่าง ตาม AWS ได้มีข้อกำหนด ถึงส่วนผสมของวัสดุเติมชนิดต่าง ๆ สำหรับการเชื่อม TIG ดังนี้
ตัวอย่าง ลวดเติมเหล็กกล้าคาร์บอน ตาม AWS A5.18
ER 70S-2
E = Electrode
R = Rod
70 = ความเค้นแรงดึงต่ าสุด 70,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว
S = ลวดไส้ต้น
2 = ส่วนผสมทางเคมี
ตัวอย่าง ลวดเติมสแตนเลส ตาม AWS A5.9
ER-347
E = Electrode
R = Rod
347 = ชนิดส่วนผสมของ Stainless Steel โดยกำหนดเป็นเบอร์ ซึ่งเบอร์ 347 เป็นชนิดออสเทนไนท์ (กลุ่ม 300) ฉะนั้นการเลือกชนิดของลวดเติม(Rod) จึงมีความสำคัญที่จะทำให้เนื้อแนวเชื่อมมีคุณภาพ และในบางครั้งการเชื่อมเหล็กหล่อ สามารถใช้ลวดเติม สแตนเลส ในการเชื่อมได้
สนใจตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า อย่างลังเลที่จะโทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20
กลับไปที่หน้าร้านของเรา