12. หัวเชื่อมและอุปกรณ์ประกอบ
หัวเชื่อมสำหรับการเชื่อม TIG ควรจะมีความแข็งแรง , กะทัดรัด , เบาและหุ้มด้วยฉนวนที่ดี
หน้าที่สำคัญได้แก่
- เป็นที่จับถือขณะเชื่อม
- เป็นทางผ่านและบังคับแก๊สปกคลุม
- นำกระแสไฟเชื่อมสู่บริเวณอาร์ค
- เป็นทางผ่านเพื่อให้น้ำระบายความร้อน
- เป็นตัวจับลวดทังสเตน
หัวเชื่อม TIG มีหลายขนาดตั้งแต่น้ำหนัก 3 ออนซ์จนถึงขนาด 1 ปอนด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระแสเชื่อม , ลวดเชื่อมและ Nozzle ซึ่งจะมีทั้งหัวตรง และหัวมุม โดยทั่วไปนิยมใช้หัวมุมซึ่ง
เอียงลวดเชื่อมทำมุม 120 องศา กับมือจับ
13. ส่วนประกอบของหัวเชื่อม TIG
ประกอบด้วย
1. ตัวทอรช์ (Torch Body) เป็นส่วนลำตัวของหัวเชื่อม และทางเดินของแก๊สปกคลุม , น้ำระบายความร้อนรวมไปถึงกระแสเชื่อม
2. ฝาครอบ (Cap) เป็นส่วนปลายสุดของหัวเชื่อมมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แก๊สไหลออกและยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้าไปปนกับแก๊สภายในหัวเชื่อมมีทั้งแบบฝาครอบสั้น (Short Back Cap)และ แบบฝาครอบยาว (Long Back Cap)
3. Collet or Electrode Collet เป็นตัวจับแท่งทังสะเตนซึ่งกำหนดขนาดตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแท่งทังสเตนทำด้วยทองแดงผสมเป็นตัวนำความร้อนได้ดีและไฟฟ้าได้ดี
4. Collet Body ยึดติดกับลำตัวหัวเชื่อมด้วยเกลียว ซึ่งทำด้วยทองแดงผสมทำหน้าที่บีบจับ Collet ให้จับลวดทังสเตนได้แน่นและยังมีรูเพื่อให้แก๊สปกคลุมไหลออกมาปกคลุมบ่อหลอมละลาย
5. Nozzle ควบคุมทิศทางการไหลของแก๊สปกคลุม Nozzle ท าจากวัสดุหลายชนิด เช่น กระเบื้อง (เซรามิค ) , โลหะแก้ว ชนิดที่ทำด้วยเซรามิคจะเป็นที่นิยมใช้และราคาถูก
6. แท่งทังสเตนอีเลคโทรด (Tungsten Electrode) ท าหน้าที่สำหรับการอาร์คและนำความร้อนไปยังชิ้นงาน ไม่ได้เป็นลวดสำหรับเติมแนวเชื่อม , ทังสเตนมีจุดหลอมเหลวสูงประมาณ
6,170 องศาเซลเซียส
แท่งทังสเตนอีเลคโทรดที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป มักจะพบอยู่ 2 แบบ คือ
1. ทังสเตนบริสุทธิ์ (Pure Tungsten)
- ใช้กับกระแสไฟ AC เหมาะกับการเชื่อมอลูมิเนียมและแมกนีเซียม
- แต่งปลายให้กลม
- การอาร์คนิ่มสม่ำเสมอ
- ไม่สกปรกขณะใช้งาน
- โค๊ตสีเขียว
- EWP
2. ทอริเอทเต็ททังสเตน (Thoriated Tungsten )
- เป็นลวดทังสเตนที่ผสมทอเรีย (Thoria) จนถึง 2.2 % จะทำให้อีเล็คตรอนแตกตัวดีขึ้น การเริ่มต้นอาร์คดี และสามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าสูง
- เหมาะส าหรับการเชื่อมโลหะที่มีส่วนผสมหลักเป็นเหล็กและเหล็กผสม
- ใช้กับไฟตรง (DC)
- ลวดเชื่อมต้องแต่งปลายให้เรียวแหลม
- โค๊ตสีแดง
- EWTH-2
15. การลับปลายแท่งทังสเตน
โดยทั่วไปจะแบ่งการลับแท่งทังสเตน ตามการใช้งานตามกระแสไฟเชื่อมเช่น AC หรือ DC จะมีการลับแท่งทังสเตนที่แตกต่างกันออกไป โดยการลับแท่งทังสเตนจะลับตามแนวยาวของทังสเตน
การลับตามแนวยาวช่วยให้การส่งถ่ายกระแสไฟเชื่อมเป็นทิศทางเดียวกัน ทำให้การควบคุมบ่อหลอมละลายได้ง่าย เปลวของกระแสไฟเชื่อมเล็กง่ายต่อการควบคุมการเดินแนวเชื่อม ในกรณีลับตามแนวขวางจะเกิดปัญหาการส่งถ่ายกระแสทิศทางของกระแสจะไม่สม่ำเสมอและมีโอกาสที่จะเกิดการแตกหักเสียหายหลุดเข้าผสมกับเนื้อแนวเชื่อมได้ง่ายกว่าการลับแท่งทังสเตนตามแนวยาว เมื่อมีการสัมผัสกับชิ้นงานขณะปฏิบัติงานเชื่อม
ต้องการตู้เชื่อม เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า โทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20