การเชื่อมทิก TIG Tungsten Inert Gas Arc Welding หรือ GTAW Gas Tungsten Arc Welding

การเชื่อมทิก
Collage made with FotoJet

การเชื่อมทิก TIG Tungsten Inert Gas Arc Welding หรือ GTAW Gas Tungsten Arc Welding

การเชื่อมทิกเป็น การเชื่อมแบบใช้แก๊สเฉื่อยปกคลุมบ่อหลอมละลาย ใช้แท่ง ทังสเตน เป็นอิเล็คโตรด แบบ Non Consumable Electrode หรือ อิเล็คโตรดแบบไม่สิ้นเปลือง สามารถเชื่อมโดย เติม หรือไม่เติมลวดก็ได้ แก๊สเฉื่อยที่ใช้ นิยมใช้แก๊ส อาร์กอน หรือ ฮีเลียม และไม่สามารถใช้แก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เนื่องจาก อ็อกซิเจนจะแตกตัว และเบิร์นอิเล็คโตรดขณะทำการอาร์ค

ข้อดีการเชื่อมทิก

-ให้แนวเชื่อมที่สะอาด และการหลอมละลายลึกที่สมบูรณ์
-เชื่อมโลหะได้หลายชนิด
-ความร้อนสะสมในชิ้นงานต่ำกว่ากระบวนการเชื่อมอาร์คแบบอื่น

ข้อเสียการเชื่อมทิก

-ความเร็วในการเชื่อมต่ำกว่ากระบวนการเชื่อมอาร์คแบบอื่น
-ต้องใช้ทักษะในการเชื่อมสูง
-ไม่เหมาะกับงานเชื่อมกลางแจ้ง เนื่องจากแก๊สที่ใช้ปกคลุมจะไม่สมบูรณ์เนื่องจากกระแสลม
-เคลื่อนย้ายค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องมีถังแก๊สเฉื่อยที่ใช้ปกคลุมบ่อหลอมละลาย

มิก-แม็ก MIG-MAG Metal Inert Gas – Metal Active Gas Arc Welding หรือ GMAW Gas Metal Arc Welding

เป็น การเชื่อมแบบใช้แก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณบ่อหลอมละลาย โดยใช้วัสดุเติมแนวเชื่อมเป็นอิเล็คโตรด ลักษณะเป็นเส้นเปลือยเล็กๆเป็นม้วน ถ้าเป็นลวดเหล็ก จะเคลือบผิวด้วยทองแดงเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และป้อนเข้าสู่แนวเชื่อมอัตโนมัติ ด้วยชุดขับป้อนลวด อิเล็คโตรดเป็นแบบ Consumable Electrode หรือ อิเล็คโตรดแบบสิ้นเปลือง เพราะต้องหลอมละลายเติมลงในแนวเชื่อม

ใช้แก๊สเฉื่อย หรือ แอ็คทิฟแก๊ส ในการปกคลุมบ่อหลอมละลาย ถ้าเป็น อาร์กอน จะเรียกว่า MIG ถ้าใช้ คาร์บอนไดอ็อกไซด์ จะเรียกว่า MAG เพราะ คาร์บอนไดอ็อกไซด์ เป็น Active Gas

ข้อดีการเชื่อมมิก

-ให้การเชื่อมที่รวดเร็ว เพราะอัตราการเติมแนวเชื่อม สูงกว่ากระบวนการเชื่อมอาร์คแบบอื่น
-ควบคุมการเชื่อมง่าย เพราะเป็นการเชื่อมแบบแรงดันไฟฟ้าคงที่ ทำให้ระยะอาร์คคงที่
-เชื่อมโลหะได้หลายชนิด เพียงแค่เปลี่ยนลวดให้เหมาะกับวัสดุงาน

ข้อเสียการเชื่อมมิก

-การให้อัตราการเติมเนื้อเชื่อมที่สูง ทำให้เกิดการหลอมละลายลึกไม่สมบูรณ์ในบางจุด
-เกิดสะเก็ดโลหะค่อนข้างสูง
-เครื่องเชื่อมมีอุปกรณ์ต่อพ่วงหลายชิ้น ทำให้ยากต่อการเคลื่อนย้าย
-ไม่เหมาะกับงานเชื่อมกลางแจ้ง เนื่องจากกระแสลมมีผลกับแก๊สปกคลุมที่ใช้

ข้อมูล อ้างอิงจาก เอกสารคำสอน วิชา PRE 101-102-103 ส่วนงานเชื่อม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

ทีนี้ คงจะพอทราบกันแล้วนะครับ ว่า “เชื่อมอาร์กอน” ที่เรียกกัน หมายถึงกระบวนการเชื่อมแบบไหน

และ มิก-แม็ก เป็นกระบวนการเชื่อมแบบไหน

ซึ่ง ทั้งคู่ เป็นกระบวนการเชื่อมแบบใช้แก๊สปกคลุม จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานกลางแจ้ง ต้องเป็นโรงปิด แบบมีอากาศถ่ายเทปกติ ไม่มีลมพัด หรือ กรรโชก และไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ

ถ้าถามว่า ตามร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ก้อเห็นเชื่อมกันโล่งๆ ทำไมเชื่อมได้ ช่างเชื่อม เค้าก้อมีวิธีเชื่อมของเค้าครับ ซึ่งเค้าไม่บอกใคร ไม่ใช่ว่าหวง แต่ ไม่รู้จะบอกไปให้มันได้อะไรขึ้นมา เพราะลูกค้า คงไม่มานั่งเชื่อมเอง

การ ใช้โพรเซส TIG ในการเชื่อมอลูมิเนียม ต้องเป็นเครื่องเชื่อมที่ปรับเป็น AC ได้ด้วยครับ ถ้าใช้ DC เผาครึ่งวันมันก้อไม่หลอม ต้องใช้ กระแสสลับ ไประเบิดอ็อกไซด์ของอลูมิเนียมออก ผิวหน้าของมันถึงจะหลอมและเชื่อมได้

ทอง แดง เป็นโลหะที่เชื่อมยากที่สุด เพราะการนำความร้อนสูงกว่าโลหะชนิดอื่น ลองมาแล้วครับ เครื่อง TIG ปรับ 200 แอมป์ เผาจนเซรามิคนอซเซิลแดง ทองแดงแค่อุ่นๆ

ต้องใช้ปริมาณความร้อนสูง(ไม่ใช่อุณหภูมิสูง) ซึ่ง TIG ให้ปริมาณความร้อนต่ำกว่าการเชื่อมอาร์คแบบอื่นๆ

สรุป คือ กระบวนการเชื่อมที่เอนกประสงค์ที่สุด คือ ลวดธูป หรือ ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ทั่วๆไปนี่แหละครับ (SMAW Shilde Metal Arc Welding)อุปกรณ์ของเครื่องเชื่อมน้อยที่สุดในบรรดากระบวนการเชื่อมด้วยไฟฟ้า เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่สนลมกรรโชก เหมาะกับการเชื่อมกลางแจ้งและในโรงปิด หรือแม้กระทั่งเชื่อมใต้น้ำ

อีกทั้งมีหลายขนาดหลายระบบให้เลือกซื้อเลือกใช้

แบบขดลวด หรือ ทรานส์ฟอร์เมอร์ กินไฟสุดๆ หนัก เคลื่อนย้ายลำบาก ส่วนมากเชื่อมได้แต่ AC

ถ้า มีชุดเร็คติไฟร์ เรียงกระแสเป็น DC ก้อแพงอีกหน่อย ซึ่งจะเรียกว่า เครื่องเชื่อมแบบ ไทริสเตอร์ ซึ่งส่วนมาก ไทริสเตอร์ ก็จะเชื่อมได้เฉพาะ DC

แบบ อินเวอร์เตอร์ เล็ก เบา เคลื่อนย้ายง่าย กระแสเชื่อมคงที่ เพราะใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ในการควบคุมปริมาณกระแส เชื่อมได้ทั้งแบบ AC และ DC แต่บางรุ่น ก็เชื่อมได้เฉพาะ DC

ราคาถูกกว่าเครื่องเชื่อมแบบอื่น เชื่อมโลหะหลักๆได้ อย่างเหล็ก และ สเตนเลส

ส่วนความแตกต่าง ระหว่างการเชื่อม AC กับ DC คือ การควบคุมบ่อหลอมละลายจะต่างกัน

AC จะควบคุม หรือเรียกว่า ทำการเชื่อม ได้ยากกว่า DC เพราะกระแสะไม่เรียบ ลำอาร์ค จะกระพือตามความถี่ของกระแสสลับ(ประมาณ 50 ครั้ง ต่อวินาที)

DC ให้กระแสเชื่อมที่ราบเรียบกว่า ควบคุมแนวเชื่อมได้ง่ายกว่า

DC+ ลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก ความร้อนจะเกิดที่ลวดมากกว่าชิ้นงาน

DC- ลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ ชิ้นงานจะร้อนกว่าลวดเชื่อม

แต่จริงๆ มันก็แตกต่างกันไม่เท่าไหร่ ต่อให้เครื่องดีแค่ไหน หากเชื่อมไม่เป็น มันก้อเหมือนซื้อเศษเหล็กมานั่งดูครับ

ลวดเชื่อมมีหลายยี่ห้อหลายขนาด และ หลายแบบ หรือจะว่าไป ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ มีประเภทของลวดเชื่อม มากที่สุดด้วยซ้ำไป

ลวด เชื่อมเหล็กกล้าละมุน เหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กหล่อ ลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ำ ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง ลวดเชื่อมไฮสปีด หรือแม้แต่ อลูมิเนียม และอีกมากมาย สาธยายไม่หมดฮะ

ซึ่งหลักๆ จะเป็นลวดเชื่อมโลหะกลุ่มเหล็ก เพราะอุตสาหกรรมโลหะที่เชื่อมได้ ส่วนมากเป็นโลหะกลุ่มเหล็ก

ส่วนโลหะนอกกลุ่มเหล็ก อย่าง อลูมิเนียม ก็จะไม่นิยมเชื่อม ใช้วิธียึดทางกล เช่น โบลท์ สกรู ย้ำด้วยหมุดย้ำ เข้าตะเข็บ ฯลฯ

ยิ่ง ทองแดงนี่ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่มีใครเค้าเชื่อมกันครับ เพราะทองแดง ไม่ใช่โลหะที่จะเอามารับภาระทางกล ส่วนมาก เป็นภาระทางไฟฟ้า ซึ่งแค่มัด หรือ บัดกรี หรือ ย้ำให้มันติดกันก็ใช้งานได้แล้ว ไม่ต้องเชื่อม

สนใจสอบถาม ตู้เชื่อมMMA เครื่องเชื่อมTIG เครื่องเชื่อมMIG เครื่องตัดPlasma
โทร 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

กลับไปหน้าร้านของเรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า