การบำรุงรักษา ตู้เชื่อมไฟฟ้า 2(ต่อ)
เรามาพูดถึงการบำรุงรักษาตู้เชื่อมกันต่อ
1.เรื่องฝุ่น ควรที่จะเปิดฝาแล้วเป่าฝุ่นอย่างน้อยเดือนละครั้งแล้วแต่หน้างานว่าฝุ่นมากหรือน้อย แต่ที่พบมากคือ”ไม่เปิดเลย” ฝุ่นออกมาเป็นก้อนๆเลยนั้น จะทำให้พัดลมเสียก่อนแล้วตามด้วยเครื่อง ซึ่งเราควรที่จะเปิดมาเป่าบ้างนะครับ บางคนบอกว่าเครื่องมีรับประกันแต่ถ้าพัดลมเสียนี่ก็ไม่มีใครรับประกันนะครับ เพราะเกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
2.เรื่องสายเชื่อม ควรที่จะถอดแล้วเก็บต่างหาก ไม่ควรพันไว้กับเครื่องจะทำให้หางปลาหรือเซรามิกหักและแตกได้ มีช่างบางคนที่ไม่อยากถอด เพราะบางเครื่องเป็นแบบเกลียวถอดยากหน่อยก็เลยไม่ถอด ไม่เหมือนรุ่น Euro แค่หมุนนิดเดียวก็ออกแล้ว จะว่าไปแล้วแบบเกลียวหรือเราที่เรียกว่า แบบไทย ก็ถอดไม่ยากนะครับ และการที่เชื่อมแล้วดำที่แนวเชื่อมส่วนใหญ่จะเกิดจากสายเชื่อมเกือบ 100% แต่ช่างบางคนมักจะไปโทษเครื่องซึ่งไม่ใช่นะครับ ควรที่จะดูอุปกรณ์ของสายเชื่อมและสายเชือม เช่น Collet และ Collet body ต้องเป็นเบอร์เดียวกัน 1.6 ก็ต้องเป็น 1.6 เหมือนกัน พร้อมทั้ง Tungsten ด้วยนะครับ หรือ 2.4 ก็ต้อง 2.4 เหมือนกันทั้ง 3 ตัว บางท่านใช้ Collet 1.6 แต่ใช้ Collet body เป็น 2.4 หรือ 3.2 ก็จะทำให้แนวเชื่อมดำได้ครับ
Alumina nozzie หรือเซรามิก ช่างบางคนใช้เบอร์4เพราะเห็นว่าหัวเล็กดี แต่เบอร์4 ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เฉพาะทาง ช่องเล็กๆแนวเชื่อมจะดำแล้วมองไม่เห็น โดยปกติแล้วจะใช้เบอร์ 5,6หรือ7 ถ้าเชื่อมแล้วดำต้องดูที่เซรามิกด้วยนะครับ บางครั้งก็เซรามิกข้างในดำมาก ก็ควรที่จะเปลื่ยน
สายแก๊สมีรอยแตก เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แนวเชื่อมดำ การเชื่อมแล้วติดๆดับๆก็เป็นสาเหตุจากสวิตช์หรือสายสวิตช์
ส่วนสายเชื่อม ก็จะมีหลายแบบ แบบแก๊สแยก แบบแก๊สรวม แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ จะขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ
ถามกันมามากว่าเป็นอย่างไรและสังเกตุอย่างไร?
เราจำเป็นที่ต้องดูที่หน้าตู้เป็นหลักครับว่ามี 3 หรือ 4 ช่อง ถ้ามี 3 ช่อง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น แก๊สรวม
ถ้าเป็น 4 ช่อง แล้วส่วนใหญ่จะเป็น แก๊สแยก
สายที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ จะมีสายน้ำเพิ่มขึ้นอีก 2 เส้นก็คือ สายน้ำเข้าและสายน้ำออก
หัวเชื่อม Torch ก็จะเป็นหัวที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ เช่น WP12/WP18/WP24/WP25/WP27 แต่ที่นิยมในบ้านเราคือ WP18
ส่วน Collet หรือที่เรียก จำปา นั้น ควรจะใช้เบอร์เดียวกับ Collet body และทังสเตน แต่แบบ 3 แฉกหรือ 2 แฉก จะดีกว่ากัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็เหมือนกัน ไม่ได้แตกต่างกันนะครับ
ส่วนสายเชื่อมก็จะมีหลายขนาด สำหรับสายเชื่อมอาร์กอนก็ควรจะใช้อย่างน้อย 25SQ หรือ 35SQ แล้วแต่ทองเหลืองข้างในว่ามีสายกี่เส้น บางยี่ห้อก็ใช้ 35 SQ แต่ทองเหลืองข้างในแค่ 600 เส้น ซึ่งน้อยไปครับ ถ้าลูกค้าใช้งานไปนานๆสายก็จะร้อน ส่วนสายสวิตช์ ก็จะมีการขาดในบ่อยๆยกเว้นช่างที่รู้ก็จะเปลี่ยนเอาสายที่ดีๆให้ ก็จะใช้ได้นาน ไม่เกิดปัญหา สวิชต์ก็เหมือนกัน มีทั้งดีและพอใช้ได้ ของดีก็จะแพงกว่าหน่อยครับ
ส่วนความยาวของสายมีผลมั๊ย ถ้ายาวมากก็เปลืองมากครับ แล้วแต่เครื่องด้วยว่าถ้ายาวแล้วกำลังพอหรือไม่ เครื่องนั้นใช้สายได้ยาวเท่าไร
3.แก๊สไม่มาหรือไม่มีแก๊สผ่านมาที่หัวเชื่อม ควรเช็คที่เกจ์อาร์กอนก่อนว่าเสียหรือไม่ และหลังจากนั้นก็ต้องดูที่ SOLENOID VALVE ว่าเสียหรือไม่ ส่วนมากจะเสียที่เกจ์ถ้าเกจ์ไม่มีปัญหา ก็เปิดฝาเครื่องดูที่ SOLENOID VALVE เอาอะไรที่ไม่หนักมากเคาะที่กระบอก SOLENOID VALVE เบาๆ ถ้ามีแก๊สมาหรือมาๆหยุดๆก็แน่ใจได้ว่าเสีย ถ้าใช้ได้ก็ใช้ไปก่อน แล้วเสียจริงจึงจะเปลี่ยนเพราะบางทีสายแก๊สสกปรกหรือฝุ่นมาก หรืออาจบางทีเป็นที่แก๊สอาร์กอนเก่าก็เป็นไปได้…
ตู้เชื่อมไฟฟ้า.com
ตู้เชื่อมไฟฟ้า Rilon ตู้เชื่อมไฟฟ้า ที่ช่างเชื่อมไว้ใจมากที่สุด เรามีทั้ง ตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมซีโอทู ตู้เชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่าและอุปกรณ์เสริม อะไหล่ต่างๆและศูนย์ซ่อมอย่างครบวงจรในราคาที่คุ้มค่าบริการประทับใจ
อย่าลังเลที่จะโทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี: AB20 คุณรอง